แบตเตอรี่ LiFePO4 เป็นแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่มีประสิทธิภาพสูงและความทนทานสูง แต่การตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากแบตเตอรี่ LiFePO4 มีแรงดันไฟฟ้าที่ค่อนข้างคงที่ระหว่างการชาร์จและการใช้งาน ดังนั้น วิธีการที่ใช้ในการตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่ประเภทอื่น อาจไม่เหมาะสมกับแบตเตอรี่ LiFePO4
วิธีการที่สามารถใช้ในการตรวจสอบความจุของแบตเตอรี่ LiFePO4 ได้แก่
ใช้มัลติมิเตอร์เพื่อวัดแรงดันตกคร่อมของแบตเตอร์รี่ LiFePO4
ข้อดี ความแม่นยำปานกลาง ข้อเสีย ต้องถอดโหลด เครื่องชาร์จทั้งหมดและปล่อยให้แบตเตอรี่พักการใช้งานประมาณครึ่งชั่วโมงก่อนวัด
มัลติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้วัดแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่ เพื่อให้ทราบค่าโวลท์ของแบตเตอรี่ LiFePO4 จะแสดงถึงความจุของแบตเตอรี่ ได้พอสังเคปโดยทั่วไปแล้ว ค่าโวลท์ที่สูงกว่า 3.2 V หมายถึงแบตเตอรี่มีความจุสูง และค่าโวลท์ที่ต่ำเกือบถึง 2.5 V หมายถึงแบตเตอรี่มีความจุน้อย (แรงดันต่อ Cell)
โดยจากภาพตัวอย่างการวัดตัวนี้สามารถเปรียบเทียบแรงดันได้จาก ตารางแรงดันแบตเตอร์รี่ จะทราบว่าความจุของแบตตอนนี้จะได้ประมาณ 100% โดยแบตตัวนี้ไม่ได้มีการใช้งานมาก่อนแต่อย่างไร ค่าแรงดันตามนี้ถือว่าโอเค โดยปกติแล้ววิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับผู้ใช้งานที่มีมิเตอร์ไฟฟ้าเท่านั้น
การใช้โหลดค่าคงที่ปล่อยกระแสออก หรือ ชาร์จไฟเข้าแบตจนเต็มและจับเวลา
ข้อดี ความแม่นยำสูง ประหยัดต้นทุน
ข้อเสีย เสียเวลาค่อนข้างนาน และ หากลืมหรือไม่กลับมาเช็คก็ต้องทำการทดสอบใหม่อีกครั้ง
ใช้โหลดค่าคงที่ (constant current load) ที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังแบตเตอรี่ด้วยค่ากระแสไฟฟ้าที่คงที่ และวัดเวลาที่ใช้ในการปล่อยกระแสไฟฟ้าจนกว่าแบตเตอรี่จะหมด เช่น
จากภาพจะเป็นวงจรตัวอย่างที่ใช้ตัว R หรือ ตัวต้านทานเป็นโหลดสำหรับดึงกระแสออกให้หมดไปจากแบตเตอร์รี่ เนื่องจากการใช้ตัว R ที่มีความต้านทานน้อยนั้นจะทำให้การดึงกระแสสูงขึ้นจะทำให้เกิดความร้อนเราขอแนะนำให้ใช้ตัว R ที่สามารถทนกระแสได้พอสมควรเช่น R 50-100W เป็นต้น
จากภาพผู้ทดสอบได้ทำการวัดแรงดันตอนแบตเต็มและจ่ายกระแสจนเกือบหมดใช้เวลาไป 25 นาที รู้กระแสที่จ่ายวัดทุก 5 นาทีแล้วเฉลี่ยกระแสออกมา รู้เวลาที่ใช้ไป ต่อไปหาความจุโดยใช้สูตรคำนวน
(A)x(h)x1000 = (mAh) ก็จะได้ว่า (6.08A(ค่าจากการเฉลี่ย)) x (0.47) x (1000) = 2857.6mAh
จากการทดสอบจะเห็นว่าได้ความจุแบตตัวนี้ได้ประมาณ 2857.6mAh ตามสเปคคือ 3000mAh ถือว่าดีเลยทีเดียวเนื่องจากผู้ทดสอบไม่ได้ปล่อยให้กระแสไหลไปเพิ่มอีกเพราะป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ด้วยการทดสอบโดยไม่ผ่านตัวป้องกันใดๆ แต่หากผู้อ่านบทความต้องการทดสอบ ทางเราแนะนำให้ใช้โหลดที่มีค่าคงที่และมีอุปกรณ์ป้องกันแบตเตอร์รี่จะดีกว่ามาก หรือ หากจะคำนวณในทางกลับกันก็ทำได้เช่นการชาร์จจนเต็มใช้เวลานานแค่ไหนก็ทำได้เช่นกัน ก็จะสามารถทราบได้ว่าความจุเท่าไหร่
ใช้แบตเตอร์รี่ที่ใช้ SMART BMS เพื่อดูค่าความจุได้แบบเรียลไทม์
ข้อดี ความแม่นยำสูง ใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก
ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพงกว่า BMS ทั่วไป
การใช้แบตเตอร์รี่ที่มีระบบจัดการแบตเตอร์รี่อัจฉริยะ (SMART BMS) จะช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบค่าความจุของแบตเตอร์รี่ได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องถอดแบตเตอร์รี่ออกจากอุปกรณ์ นอกจากนี้ SMART BMS ยังมีฟังก์ชันการป้องกันการชาร์จเกิน การปล่อยไฟเกิน และการสูญเสียไฟฟ้า ทำให้แบตเตอร์รี่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและปลอดภัย
หากคุณต้องการตรวจสอบค่าความจุของแบตเตอรี่แบบถูกต้องเรียลไทม์ คุณสามารถใช้แบตเตอรี่ที่ใช้ SMART BMS ซึ่งเป็นระบบจัดการแบตเตอรี่อัจฉริยะ ที่สามารถส่งข้อมูลผ่าน Bluetooth หรือ Wi-Fi ไปยังแอปบนมือถือหรือคอมพิวเตอร์ของคุณได้ แบบนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับการใช้งานแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันการชำรุดหรือลดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้