แผงโซลาร์เซลล์มีหลายชนิดตามวัสดุที่ใช้ในการผลิต แต่สามชนิดที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดคือโซลาร์เซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline solar cells) โซลาร์เซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline solar cells) และโซลาร์เซลล์ชนิดเต็มฉนวน (Thin-film solar cells) ขอแสดงข้อดีและข้อเสียของแต่ละชนิดดังนี้
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ เป็นแผงที่ผลิตจากซิลิคอนเกรดดีที่สุด มีสีน้ำเงินเข้ม และมีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสตัดมุม และ ไม่ตัดมุม มีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะว่าให้กำลังสูงจึงต้องการพื้นที่น้อยที่สุดในการติดตั้ง แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีอายุการใช้งานยาวนาน ประมาณ 25-35 ปี
- ข้อดี ของชนิดนี้คือมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูง ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยหากเทียบกับกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้เท่ากันกับชนิดอื่นๆ
- ข้อเสีย คือราคาสูง เหมาะกับพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์เพียงพอ และ อากาศไม่ร้อนมากนัก
แผงโซล่าเซลล์ชนิดโพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells)
เป็นแผงโซล่าเซลล์ที่ผลิตจากการเทซิลิคอนเหลวแล้วตัดแบ่งเป็นแผ่นบาง มีสีน้ำเงินอ่อน และมีรูปร่างสี่เหลี่ยมจัตุรัสไม่ตัดมุม เป็นแผงที่ผลิตจากซิลิคอนเกรดต่ำกว่าชนิดโมโน มีประสิทธิภาพต่ำกว่า แต่ราคาถูกกว่า แผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 20-30 ปี
- ข้อดี ของชนิดนี้คือราคาถูกกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์ ทำงานในอุณหภูมิที่ร้อนได้ดีพอสมควร
- ข้อเสีย คือประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่า เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่
แผงโซล่าเซลล์ชนิดฟิล์มบาง (Thin-film solar cells)
เป็นอีกหนึ่งประเภทของแผงโซล่าเซลล์ที่มีการผลิตจากการฉาบสารที่สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าเป็นชั้นบางๆ หรือฟิล์ม บนแผ่นพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น สารที่ใช้ในการผลิตแผงโซล่าเซลล์ชนิดนี้มีหลายชนิด เช่น อะมอร์ฟัสซิลิคอน (Amorphous Silicon, a-Si) แคดเมียมเทลลูไรด์ (Cadmium Telluride, CdTe) คอปเปอร์อินดิอัมกาลเลียมไซเลไนด์ (Copper Indium Gallium Selenide, CIGS) เป็นต้น โดยมีอายุการใช้งานประมาณ 10-15 ปี น้อยสุดในแผงทั้งหมดและถูกที่สุด
- ข้อดี ของชนิดนี้คือใช้วัสดุในการผลิตได้อย่างประหยัด สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าในสภาวะแสงอาทิตย์น้อย
- ข้อเสีย คือมีอายุการใช้งานสั้นกว่าชนิดอื่น และมีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าต่ำกว่าชนิดอื่น เหมาะกับพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์ไม่คงที่
ประสิทธิภาพการผลิตไฟแดดจัดอากาศร้อนจัด
เป็นการเปรียบเทียบการผลิตไฟโดยแผงโซล่าเซลล์ MONO,POLY 340W และ อะมอร์ฟัสซิลิคอน 140W เป็นการทดสอบแดดจัดอากาศร้อนอุณหภูมิเกือบ 40 องศา ไม่ได้วัดโวลต์แบบ Open Circuit Voltage ไม่ได้วัดกระแสแบบ Short Circuit Current โดยทดสอบจากการชาร์จไฟลงแบตแล้วคำนวณหา กำลังไฟฟ้าขณะชาร์จ ได้ผลดังนี้
Mono ได้ 265.2W
78%
Poly ได้ 272W
80%
Thin-film ได้ 92.4W
66%
ประสิทธิภาพการผลิตไฟแดดจัดอากาศไม่ร้อน
เป็นการเปรียบเทียบการผลิตไฟโดยแผงโซล่าเซลล์ MONO,POLY 340W และ อะมอร์ฟัสซิลิคอน 140W เป็นการทดสอบแดดจัดอากาศไม่ร้อนมากนักอุณหภูมิประมาณ 30 องศา ไม่ได้วัดโวลต์แบบ Open Circuit Voltage ไม่ได้วัดกระแสแบบ Short Circuit Current โดยทดสอบจากการชาร์จไฟลงแบตแล้วคำนวณหา กำลังไฟฟ้าขณะชาร์จ ได้ผลดังนี้
Mono ได้ 289W
85%
Poly ได้ 278.8W
82%
Thin-film ได้ 106.4W
76%
ประสิทธิภาพการผลิตไฟมีเมฆหนาบังที่แผง
เป็นการเปรียบเทียบการผลิตไฟโดยแผงโซล่าเซลล์ MONO,POLY 340W และ อะมอร์ฟัสซิลิคอน 140W เป็นการทดสอบมีเมฆอากาศไม่ร้อนเท่าไหร่ราวๆ 30 องศา ไม่ได้วัดโวลต์แบบ Open Circuit Voltage ไม่ได้วัดกระแสแบบ Short Circuit Current โดยทดสอบจากการชาร์จไฟลงแบตแล้วคำนวณหา กำลังไฟฟ้าขณะชาร์จ ได้ผลดังนี้
Mono ได้ 142.8W
42%
Poly ได้ 132.6W
39%
Thin-film ได้ 67.2W
48%
ชุดข้อมูลการทดสอบนี้เป็นเพียงการทดสอบจากแผง 1 แผงแต่ละชนิดเท่านั้น เนื่องจากคุณภาพการผลิต แต่ละแบนด์แต่ละยี่ห้อนั้นมีความแตกต่างกันไปอีกเช่นกัน อย่างไรก็ตามการทดสอบนี้ก็มีประโยชน์เพื่อให้เห็นประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของแผงโซล่าเซลล์แต่ละชนิด
จากข้อมูลข้างต้น เราสามารถเห็นได้ว่าแผงโซล่าเซลล์มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป การเลือกใช้แผงโซล่าเซลล์จึงควรพิจารณาจากความเหมาะสมกับพื้นที่ งบประมาณ และความต้องการใช้ไฟฟ้าของเรา