ขอมิเตอร์ไฟฟ้า หรือ การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า คุณต้องเตรียมอะไรบ้าง และค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ (KVA) ราคาค่าธรรมเนียมการเพิ่มขนาดมิเตอร์ และเงินประกันการใช้ไฟ นอกจากนี้ยังมีเอกสารที่ต้องใช้เมื่อขอโอนเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟฟ้า หรือสัญญาซื้อขาย (กรณีเจ้าของไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน) และต้องติดต่อและขอมิเตอร์ไฟฟ้า หรือขอย้ายเสา สาย และอุปกรณ์ระบบจ่ายไฟฟ้า หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมิเตอร์ควรใช้กี่แอมป์

หลักเกณฑ์ของบุคคลที่สามารถขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

  1. เป็นเจ้าของที่ดิน เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของสถานที่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า.
  2. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่จะใช้ไฟฟ้า ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินหรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษร
  3. กรณีคุณเป็นผู้เช่าหรือผู้เช่าซื้อในสถานที่ใช้ไฟฟ้าผู้มีสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมาย หรือตามสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อ จะขายเป็นต้น
  4. กรณีคุณเป็นผู้ประกอบการในสถานที่ใช้ไฟฟ้า คุณจะต้องเตรียมเอกสารอื่นเพิ่มเติมตามความต้องการของหน่วยงานไฟฟ้า.

ขั้นตอนการยื่นเรื่อง

ท่านควรตรวจสอบเขตอยู่ในการขอติดตั้งมิเตอร์เพื่อให้ทราบว่าจะต้องติดต่อไปทางใดดังนี้

MEA

หากท่านอยู่บริเวรจังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรีและสมุทปราการ ให้ทำการยื่นเรื่องติดต่อผ่าน การไฟฟ้านครหลวง หรือ MEA

MEA

โหลดแอพ MEA Smart Life

logo-PEA

หากท่านไม่ได้อยู่อยู่บริเวรจังหวัด กรุงเทพฯ นนทบุรีและสมุทปราการ ให้ทำการยื่นเรื่องติดต่อผ่าน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA

PEA

โหลดแอพ PEA SMART PLUS

ขั้นตอนการขอมิเตอร์ไฟฟ้า

ขั้นที่ 1: ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าที่หน่วยงานการไฟฟ้านครหลวง (mea.or.th)  หรืออาจใช้เว็บไซต์ของหน่วยงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (pea.co.th) สำหรับการยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านแอพ PEA Smart Plus หรือ MEA Smart Life

ขั้นที่ 2: หลังจากคำร้องขอได้รับการอนุมัติและเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ทางเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าจะตรวจสอบการเดินสายไฟที่สถานที่ที่คุณต้องการติดตั้งมิเตอร์.

ขั้นที่ 3: คุณจะต้องชำระค่าธรรมเนียมและรับใบเสร็จ อย่าลืมเก็บใบเสร็จเพื่อเป็นหลักฐาน

สำหรับกรณีขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อให้มิเตอร์ใช้งานได้ คุณจะต้องเตรียมสายไฟฟ้า คัทเอาท์ เบรกเกอร์ตามขนาดของมิเตอร์

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอติดตั้งมิเตอร์ใหม่

การขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าจะแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบดังนี้ แบบบุคคลธรรมดา , แบบนิติบุคคล , แบบมอบอำนาจ มีเอกสารที่ต้องเตรียมดังนี้

การขอใช้ไฟฟ้าของบุคคลธรรมดา

ถ้าบ้านใหม่ของคุณพร้อมที่จะติดตั้งมิเตอร์แล้ว คุณจะต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้:

  • สำเนาบัตรประชาชน, บัตรประจำตัวราชการ, หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์กรรัฐ.
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่อยู่ปัจจุบันของคุณ.
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่คุณต้องการติดตั้งมิเตอร์.
  • สัญญาซื้อขาย (ถ้ามีการซื้อขายบ้าน)
  • หนังสือเดินทาง (Passport กรณีบุคคลที่ไม่ใด้มีสัญชาติไทย ชาวต่างชาติ)

การขอไฟฟ้าสำหรับนิติบุคคล

ถ้าคุณเป็นนิติบุคคลที่ต้องการขอไฟฟ้า คุณจะต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้:

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ออกไม่เกิน 6 เดือน.
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่คุณต้องการติดตั้งมิเตอร์
  • ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ.20) (ถ้ามี)

หากคุณต้องการให้ผู้อื่นดำเนินการแทนคุณในการขอไฟฟ้า คุณจะต้องเตรียมหนังสือมอบอำนาจ ตามที่ระบุด้านล่าง (เอกสารเพิ่มเติม)

  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ.
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ.
  • หนังสือมอบอำนาจพร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท.
หมายเหตุ เอกสารหลักฐานในการขอรับบริการต้องเป็นเอกสารสำเนาที่มีการลงนามรับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ

ราคาติดตั้งมิเตอร์ใหม่

ขนาดมิเตอร์ (แอมป์) เฟส ราคา  MEA ราคา PEA
5(15) 1 เฟส 2 สาย 107 บาท 107 บาท
15(45) 1 เฟส 2 สาย 749 บาท 749 บาท
30(100) 1 เฟส 2 สาย 749 บาท 749 บาท
50(150) 1 เฟส 2 สาย 749 บาท ไม่มี
15(45) 3 เฟส 4 สาย 749 บาท 749 บาท
30(100) 3 เฟส 4 สาย 1,605 บาท 1,605 บาท
50(150) 3 เฟส 4 สาย 1,605 บาท ไม่มี
200 3 เฟส 4 สาย 2,675 บาท ไม่มี
400 3 เฟส 4 สาย 2,675 บาท ไม่มี

หากพื้นที่ของท่านไม่มีเสาไฟฟ้าของ PEA อยู่บริเวรใกล้เคียงต้องมีการขยายเขตเพิ่มเติม ในระยะไม่เกิน 200 ม. จากเสาไฟฟ้า จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มมากขึ้น

หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

ขอใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อและยื่นคำร้องได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าทุกแห่ง

  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โทร. 1130 หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ การไฟฟ้านครหลวง
  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โทร. 1129 หรือ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

อ้างอิงจาก: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA , การไฟฟ้านครหลวง MEA

ใส่ความเห็น